บาไฮศาสนิกชนนมัสการอย่างไร <
สักการสถาน <
 
 
บาไฮศาสนิกชนบูชาอย่างไร

ปฏิทินบาไฮ
ในสมัยของพระบ๊อบ   ปฏิทินใหม่ได้เริ่มต้นนับตามปีสุริยคติ   หนึ่งปีแบ่งเป็น   ๑๙ เดือน  แต่ละเดือนมี  ๑๙  วัน  และในแต่ละเดือนมีชื่อเรียกเป็นภาษาอาหรับ  ซึ่งแสดงถึง คุณลักษณะหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า เช่น"บาฮา"หมายถึง วิภา"จาลาล"หมายถึง ความ รุ่งโรจน์

งานฉลองบุญ ๑๙ วัน
ในวันแรกของทุกเดือนบาไฮ   ธรรมสภาท้องถิ่นของแต่ละชุมชน   จะจัดงานฉลอง บุญ  ๑๙ วัน ในช่วงระหว่างตะวันตกดินของวันสุดท้ายของเดือนก่อน และตะวันตกดินของ วันแรกของเดือนใหม่ เพราะวันของบาไฮเริ่มต้นและสิ้นสุดตอนตะวันตกดิน
งานฉลองบุญ  ๑๙ วัน เป็นการฉลองทางจิตใจ มิใช่ทางวัตถุ พระบาฮาอุลลาห์ทรง กล่าวไว้ในคัมภีร์แห่งกฎ (คีตาบี อัคดัส)  ว่า " งานฉลองบุญได้บัญญัติไว้ให้แก่เจ้าเดือน ละหนึ่งครั้ง แม้จะมีเพียงน้ำเปล่าก็ตาม แท้จริงแล้วพระผู้เป็นเจ้าประสงค์จะนำหัวใจของ มนุษย์ทั้งหลายมารวมกัน แม้จะต้องใช้ทุกวิถีทางบนโลกและในสวรรค์ "
พระอับดุลบาฮาได้อธิบายจุดประสงค์ของงานฉลองบุญดังนี้   "......เพื่อทำนุบำรุงมิตรภาพ และความรัก เพื่อระลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า วิงวอนพระองค์ด้วยความสำนึกผิดและ สนับสนุนกิจที่เป็นประโยชน์ "

งานฉลองบุญ ๑๙ วัน ประกอบด้วย ๓ ภาคดังนี้
๑. ภาคธรรมะ  จะมีการสวดมนต์  อ่านธรรมนิพนธ์
๒. ภาคบริหาร  จะมีการอ่านจดหมายจากธรรมสภาแห่งชาติ    สมาชิกในชุมชน
    ปรึกษาหารือกัน เสนอความคิดเห็นไปให้ธรรมสภาพิจารณา
๓. ภาคสังสรรค์  จะมีบริการอาหารและเครื่องดื่ม   หรืออาจจะเป็นเพียงน้ำเปล่า
    และตามที่พระอับดุลบาฮากล่าวไว้ บาไฮ " จะสมาคมกันในความรัก ความปิติ
    และสุคนธรส "  เจ้าภาพอาจจัดให้มีดนตรี หรือเพลงฟังที่เหมาะสม การประ -
    ดับประดาอาหาร ตามที่ตนต้องการและตามกำลังทรัพย์

อัยยัมมีฮา
ในปีหนึ่งมี ๓๖๕ วัน มีเดือนบาไฮ ๑๙ เดือนๆ ละ ๑๙ วัน รวมเป็น ๓๖๑ วัน  ฉะนั้น จะมีวันเหลืออยู่อีก ๔ วัน หรือ ๕ วันในปีอธิกสุรทิน วันที่เหลืออยู่นี้อยู่ระหว่างสองเดือนสุดท้าย ของปี  คือระหว่างวันที่  ๒๖  กุมภาพันธ์ - ๑ มีนาคม  เราเรียกวันที่เหลือเหล่านี้ตาม ภาษาอาหรับว่า  อัยยัมมีฮา  เป็นวันสำหรับการให้ของขวัญ  แสดงน้ำใจอนุเคราะห์ผู้ป่วย และคนยากจน

วันศักดิ์สิทธิ์
มีวันศักดิ์สิทธิ์อยู่  ๙  วัน  ในปีบาไฮ ซึ่งในวันเหล่านี้ถ้าเป็นไปได้บาไฮควรหยุดงาน และหยุดโรงเรียน  วันศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้เป็นวันครบรอบหรือวันพิเศษ  เช่น  วันนอร์รูซ คือ วันที่ ๒๑ มีนาคม เป็นวันปีใหม่ของบาไฮ
เทศกาลริสวันระหว่างวันที่ ๒๑ เมษายน - ๒ พฤษภาคม เป็นเทศกาลบาไฮที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด  เป็นวันซึ่งครบรอบการประกาศศาสนาของพระบาฮาอุลลาห์  ที่อุทยานริสวัน ใน แบกแดด  ปี ค.ศ. ๑๘๖๓   เทศกาลริสวันประกอบด้วยวันศักดิ์สิทธิ์  ๓  วัน   คือวันที่   21 เมษายน  ซึ่งเป็นวันแรกของเทศกาลริสวัน  เป็นการรำลึกถึงวันที่พระบาฮาอุลลาห์ได้ทรง ประกาศฐานะอย่างเปิดเผยเป็นครั้งแรกว่า   พระองค์คือ พระศาสดาจากพระผู้เป็นเจ้าสำ หรับยุคนี้  วันที่  ๒๙  เมษายน  เป็นวันที่เก้าของริสวัน  ถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์   และวันที่  ๒ พฤษภาคม  เป็นวันศักดิ์สิทธิ์ที่รำลึกการเสด็จออกจากอุทยานริสวันของพระบาฮาอุลลาห์
 
    วันประกาศศาสนาของพระบ๊อบ คือวันที่ ๒๓ พฤษภาคม
    วันปรินิพานของพระบาฮาฮุลลาห์ คือวันที่ ๒๙ พฤษภาคม
    วันประหารชีวิตพระบ๊อบ คือวันที่ ๙ กรกฎาคม
    วันประสูติของพระบ๊อบ คือวันที่ ๒o ตุลาคม
    วันประสูติของพระบาฮุลลาห์ คือวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน
วันศักดิ์สิทธิ์อีก ๒ วัน ซึ่งอนุญาตให้บาไฮทำงานได้ คือ วันแห่งพระปฏิญญา ในวัน ที่  ๒๖  พฤศจิกายน  และวันมรณภาพของพระอับดุลบาฮา คือวันที่  ๒๘  พฤศจิกายน
ในวันศักดิ์สิทธิ์จะมีการสวดมนต์ งานสังสรรค์ หรือปิคนิก หรือชุมนุมกันด้วยความ สำรวมและเคารพ ตามความเหมาะสมในแต่ละโอกาส

การอธิษฐานสวดมนต์
ไม่มีพิธีกรรมหรือแบบของการบูชาในศาสนาบาไฮ แต่บาไฮจะใช้บทอธิษฐานของ พระบ๊อบ พระบาฮาอุลลาห์ พระอับดุลบาฮา  มีบทอธิษฐานที่ไพเราะมากมาย ที่เหมาะสม สำหรับแต่ละโอกาส บทอธิษฐานเหล่านี้ อาจนำมาอ่าน สวด ท่องเป็นทำนอง หรือร้องเป็น เพลงพร้อมกับดนตรี อาจสวดทีละคน หรือที่ชุมนุม หรือสวดเป็นการส่วนตัว  บทอธิษฐาน เหล่านี้ถือว่ามาจากพระผู้เป็นเจ้าและมีอำนาจมาก
บทอธิษฐานบาไฮยังสอนเราเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้า  และพระองค์ต้องการจะให้เรา เป็นอย่างไร  พระบ๊อบกล่าวว่า " การอธิษฐานอันเป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ การอธิษฐาน ด้วยใจบริสุทธิ์ และผ่องใส  การอธิษฐานที่ยืดยาวไม่เป็นที่โปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้า การอธิษฐานด้วยใจบริสุทธิ์ และไม่ยืดมั่นมากเท่าไร ก็เป็นที่ยอมรับต่อเบื้องพระพักตร์ ของพระผู้เป็นเจ้ามากเท่านั้น "
บาไฮต้องสวดมนต์อธิษฐานทุกวัน บาไฮมีบทอธิษฐานเฉพาะ  ๓ บท  ซึ่งต้องเลือก สวดหนึ่งในสามบทนี้ในแต่ละวัน บทอธิษฐานเหล่านี้เรียกว่า บทอธิษฐานบังคับ พระอับดุล บาฮากล่าวว่า  " บทอธิษฐานบังคับนี้จำเป็นต้องสวด เพราะทำให้ผู้สวดถ่อมตัว และยอม จำนน ตั้งจิตสู่พระผู้เป็นเจ้า และอุทิศตนต่อพระองค์ มนุษย์กำลังสนทนากับพระผู้เป็นเจ้า โดยการสวดอธิษฐานนี้  เขากำลังพยายามเข้าใกล้พระองค์ และสนทนากับผู้เป็นที่รักยิ่ง ในหัวใจ และบรรลุถึงสภาวะธรรม"

การถือศีลอด
ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ  กล่าวไว้ว่า " การถือศีลอด ควบคู่กับบทอธิษฐานบังคับ  เป็น สองเสาที่ค้ำจุนกฎของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งสองทำหน้าที่กระตุ้นและฟื้นฟูชีวิตให้แก่วิญญาณ ทำให้วิญญาณ แข็งแกร่งและบริสุทธิ์ เป็นการรับประกันการพัฒนาของวิญญาณอย่างมั่นคง"
บาไฮถือศีลอดประจำทุกปีตั้งแต่วันที่  ๒  มีนาคม -  ๒o  มีนาคม  บาไฮจะต้องตื่น ก่อนตะวันขึ้นเพื่อทานอาหารและสวดอธิษฐาน หลังตะวันขึ้นแล้ว ห้ามมีอะไรผ่านเข้าปาก แม้แต่น้ำ จนกระทั่งตะวันตกดิน   บาไฮจะสวดอธิษฐาน และทานอาหารอีกครั้งในตอนค่ำ บาไฮทุกคนที่มีอายุระหว่าง  ๑๕  -  ๗o ปี  ต้องถือศีลอด ยกเว้นผู้ที่ป่วย หญิงมีครรภ์ แม่ ที่ให้นมลูก ผู้ที่ใช้แรงงานมาก ผู้ที่เดินทางไกล
ท่านโชกิ เอฟเฟนดิ  กล่าวว่า " ช่วงเวลาถือศีลอด เป็นช่วงเวลาของการทำสมาธิ และสวดมนต์อธิษฐานโดยแท้จริง  เป็นช่วงเวลาของการฟื้นฟูจิตใจ   ในระหว่างนี้ บาไฮ ต้องพยายามปรับชีวิตภายใน ให้ความสดชื่นกระปรี้ประเปร่าอีกครั้ง แก่พลังที่แฝงอยู่ใน วิญญาณ ดังนี้ความสำคัญและจุดประสงค์ของการถือศีลอดอยู่ที่จิตใจเป็นหลัก การถือศีล อดเป็นสัญลักษณ์ และเป็นเครื่องเตือนใจให้ละเว้นจากความเห็นแก่ตัวและกิเลส"
 
สักการสถาน
บาไฮไม่จำเป็นต้องอาศัยอาคารพิเศษสำหรับบูชา   บาไฮเชื่อว่า คนเราไม่จำเป็นที่ จะต้องอยู่ในสถานที่พิเศษเพื่อสวดอธิษฐานถึงพระผู้เป็นเจ้า  พระบาฮาอุลลาห์ได้ทรงเปิด เผยบทอธิษฐานบทหนึ่ง ซึ่งกล่าวว่า " พระพรสถิตอยู่ทุกแห่งหน ทุกบ้าน ทุกสถานที่...ที่ มีการกล่าวถึงพระผู้เป็นเจ้าและสรรเสริญพระองค์ "
ปกติแล้วบาไฮจะพบปะกันในบ้านส่วนตัว หรือที่ศูนย์บาไฮ นอกจากนี้ยังมีโบสถ์บา- ไฮอีกหลายแห่งทั่วโลกและจะสร้างเพิ่มขึ้นอีก โบสถ์เหล่านี้เป็นอาคารที่สวยงามมาก  แต่ ละโบสถ์มี ๙ ด้าน และทางเข้า ๙ ทาง เป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพของทุกศาสนา  สักการ สถานเหล่านี้เป็นที่สำหรับสวดอธิษฐานและอ่าน ธรรมนิพนธ์ และมิใช่มีไว้สำหรับเพื่อบา - ไฮเท่านั้น  แต่เป็นสถานที่ที่มนุษยชาติทั้งปวง ไม่ว่าจากเชื้อชาติใด หรือจากความเชื่อใด สามารถเข้าไปนมัสการพระผู้เป็นเจ้าได้

การแสวงบุญ
บาไฮไม่สามารถที่จะเข้าไปเยี่ยมสถานที่สำคัญต่าง ๆ ของศาสนาที่อยู่ในประเทศ อิหร่านและอิรัก เนื่องจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  อย่างไรก็ตาม  ในช่วงที่พระบา ฮาอุลลาห์มีชีวิตอยู่  พระองค์ได้ถูกเนรเทศไปยังสถานที่ต่าง ๆ   จนในที่สุดปี ค.ศ. ๑๘๖๘ พระองค์ถูกจองจำที่คุกเมืองอัคคา ในช่วง  ๑๒ ปีสุดท้ายของชีวิต  แม้ว่าพระองค์จะยังคง เป็นนักโทษอยู่  แต่ว่าพระองค์ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่นอกกำแพงเมืองได้  ณ สถานที่ที่ เรียกว่า บาห์จี  เป็นที่ซึงพระองค์เสด็จปรินิพพาน ในปี ค.ศ. ๑๘๙๒  ปัจจุบันบาห์จีเป็นที่ ประดิษฐานพระศพของพระองค์  รายล้อมด้วยอุทยานที่สวยงามมาก ดังนั้นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของบาไฮหลายแห่ง จึงอยู่ในประเทศอิสราเอล  คือ  ในเมืองไฮฟา และอัคคา   ซึ่งใน ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางแห่งโลกของศาสนาบาไฮ    สภายุติธรรมสากลเชิญบาไฮผู้แสวงบุญ ให้ไปเยี่ยมสถานที่ศักดิ์เหล่านี้ครั้งละ  ๙  วัน  เพื่อสวดอธิษฐาน  ณ สถูปต่างๆ  และสถาน ที่น่าสนใจ  ได้แก่  สถูปของพระบ๊อบ  อาคารเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์  อาคารที่ทำ การของสภายุติธรรมสากลบนภูเขาคาเมลในเมืองไฮฟา   เมืองอัคคา  และสุสานของพระ บาฮาอุลลาห์ที่บาห์จี

 


 
กำเนิดบาไฮ | การขยายศาสนา |  ระบบการบริหาร |  คำสอนบาไฮ |  นมัสการ |  การเป็นบาไฮ 
พัฒนาวิญญาณ |  ใครกำหนดอนาคต |  สักการสถานบาไฮ